วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ใบความรู้เว็บเพจม.3


ใบความรู้ที่ 1 โครงสร้างเว็บไซต์

ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ในหน้าโฮมเพจ

ในหน้าโฮมเพจ (หน้าเเรกของเว็บไซต์) นั้นควรมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้ามาใช้งานได้สะดวก ซึ่งหน้าโฮมเพจส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1.โลโก้ ( Logo)

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าเว็บจดจำเว็บไซต์ขอฃเราได้ก็คือโลโก้นอกจากนี้เเล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย โดยรานิยมวางตำเเหน่งโลโก้ไว้ที่มุมบนซ้ายเพราะเป็นจุดที่สามารถสังเกตได้ง่าย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าวางตำเเหน่งโลโก้ที่มุมบนซ้ายนั้นช่วยให้ผู้ชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ถึง 84% เลยที่เดียว

คุณค่าของการวางตำแหน่งโลโก้

บนซ้าย (Upper Left) = 84%

บนขวา (Upper Right) = 6%

บนกลาง (Upper Center) = 6%

ที่อื่น ๆ (Other Position) = 4%

จะสังเกตได้ว่าการออกแบบโลโก้ของเเต่ละเว็บไซต์นั้จะไม่ซับซ้อนมากนั้น แต่จะเน้นไปในทางด้านการออกแบบให้เรียบง่ายและสามารถอ่านชื่อเว็บไซต์ได้ชัดเจนมากกว่า เนื่องจากใช้ภาพโลโก้ที่ซับซ้อนอาจส่งผลให้ผู้เข้าชมไม่สามารถจดจำชื่อเว็บไซต์ของเราได้นั่นเอง

2.เมนูหลัก (Link Menu)

เมนูหลักเป็นจุดเชื่อมโยงสิ่งสำคัญ ๆ ที่รวบรวมไว้ในรูปแบบของเมนูปุ่มหรือข้อความ โดยผู้เข้าชมจะสามารถรับรู้ได้ว่าภายในเว็บไซต์นี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เช่น News (ข่าวใหม่ ๆ) ,Shoooing และLink (เชื่อมโยงเว็บที่เกี่ยวข้อง) เป็นต้น รูปแบบของเมนูหลักที่นิยมใช้กันมักเป็นเมนูแบบแนวตั้งและเมนุแบบแนวนอนตามลาดับ

3.โฆษณา (Banner)

โฆษณานั้นเป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif animation) ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตำตื่นใจมากยิ่งขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 30% เลยที่เดียว นอกจากนี้แล้วยังสามารถเเสดงถึงความนิยมของผู้เข้าชมได้อีกด้วย แต่ก็ไม่ควรให้มีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำเเหน่งให้เหมาะสมด้วย

4.ภาพประกอบเเละเนื้อหา (Content)

เนื้อหาสาระที่น่ารู้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้เข้าชมอยากจะเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้นเเละใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ เราจึงควรอัพเดตเนื้อหาให้ใหม่สด มีรูปเเบบการจัดวางที่อ่านง่าย เนื้อหาไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป นอกจากนี้หากเราใช้ภาพประกอบที่สวยงามก็จะช่วยให้เนื้อหาดูดึงดุดใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ภาพประกอบที่สวยงามและฟอนต์ที่อ่านง่ายจะช่วยให้เนื้อหาของเราน่าสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นถึง 40-45%

การเเบ่งพื้นที่การใช้งานในหน้าโฮมเพจ

หลังจากที่เราได้รู้จักกับส่วนประกอบสำคัญ ๆ ในหน้าโฮมเพจเเล้ว ผู้อ่านหลายท่านจะเริ่มสงสัยว่าในเมื่อมีส่วนประกอบมากมายขนาดนี้เราควรจะจัดวางตำแหน่งอย่างไรดี ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในการจัดวางหน้าโฮมเพจ เรามักพบเห็นการเเบ่งพื้นที่ในรูปเเบบ 3 ส่วน และ 2 ส่วน การใช้งานกับเว็บไซต์ขององค์กรและเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ใช้งานง่าย และมีการแบ่งสัดส่วนอย่างชัดเจน เช่น www.siemens.com, www.msn.com, www.sanook.com

สำหรับรูปเเบบการเเบ่งพื้นที่ 1 ส่วนหรือเเบบอิสระนั้น เรามักพบเห็นกับเว็บไซต์ที่เน้นการออกแบบให้สวยงานมากกว่าเน้นการใช้งาน และมักมีการออกแบบที่สลับซับซ้อน เช่น www.qooclup.com, www.rustboy.com, www.hardldbelker.com

ทำอย่างไรให้โฮมเพจดูดี

ในความเป็นจริงแล้วการออกเเบบเว็บไซต์ไม่ได้มีรูปเเบบที่ตายตัวและเเน่นอนเเต่ก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้เว็บไซต์เราดูดีเเละน่าใช้ ผู้เขียนจึงมีข้อเเนะนำและวิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยให้โฮมเพจของคุณดูดีขึ้น

1. เลือกใช้สีให้เหมาะสม

การเลือกใช้สีนั้นมีผลอย่างมากในภาพรวมของเว็บไซต์ เนื่องจากสีเเต่ละสีนั้นมีผลต่ออารมณ์เเละความรู้สึกกับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ โดยเเต่ละประเภทของสีนั้นจะให้ความหมายและความรู้สึกที่ต่าง ๆ กันนี้

สีฟ้า

เป็นสีของท้องฟ้าจึงช่วยให้เรารู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย สีฟ้านั้นเป็นสีที่ดูแล้วสบายตำและนอกจากนี้ยังรู้สึกนุ่มนวลและสุขสบายอีกด้วย

สีน้าเงิน

ให้ความรู้สึกถึงความจริงจัง มั่งคงและจริงจัง สงบและปลอดภัย นอกจากนี้แล้วยังให้ ความรู้สึกหรูหรา มีระดับ มีราคำและความเป็นชายอีกด้วย

สีเขียว

สีเขียวเป็นสีของต้นไม้ใบหญ้าทำให้เรารู้สึกสดชื่นเย็นสบายเเละชวนให้นึกถึงความเป็นธรรมชาติ สีเขียวนั้นเป็นสีที่สบายตามากที่สุดสีหนึ่ง

สีเเดง

ให้ความรู้สึกร้อนเเรง ความรุนแรงความมีพลังและความตื่นเต้นสนุกสนานอกจากนี้เเล้วเป็นสีมงคลของคนจีนอีกด้วย

สีเหลืองและสีส้ม

สีเหลืองนั้นให้อารมณ์สดใสเเละดึงดูดสายตาแต่บางครั้งอาจทำให้รูสึกเหนื่อย ส่วนสีส้มนั้นทำให้ความรู้สึกอบอุ่นกระตือรือร้นและนอกจากนี้แล้วยังดูทันสมัยอีกด้วย

สีเทำ

ให้ความรู้สึกสุภาพสุขุม สงบ เเละมั่นคง และยังให้ความรู้สึกหม่อนหมอง และโศกเศร้าอีกด้วย

สีขาว

ให้ความรู้สึกเรียบง่าย สะอาดสะอ้าน โล่งสบายและบริสุทธิ์

 

 

2.มีความเป็นเอกลักษณ์

เราสามารถออกเเบบเว็บไซต์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ย่างง่าย ๆ ด้วยการเลือกใช้สีฟอนต์และภาพประกอบที่มีความคล้ายคลึงกันทุก ๆ หน้าของเว็บไซต์ เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีเอกลักษณ์มักทำให้ผู้ใช้จดจำได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีจุดสนใจอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบอีก เช่น โลโก้ สี เเละ ความคล้ายคลึงกัน

3.ต้องสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม

หากเว็บไซต์ของคุณนั้นมีการใช้งานที่สลับซับซ้อนจนเกินไปอาจมีผลทำให้ผู้ที่มาใช้บริการหงุดหงิดราคำญใจได้และทำให้ไม่อยากกลับมาใช้บริการที่เว็บไซต์ของเราอีกโดยเฉพาะหากเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์เพื่อการบริการซื้อขายแล้วล่ะก็จะยิ่งเป็นผลเสียอย่างมากในการสั่งซื้อสินค้าและใช้บริการ

4.สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว

ในการออกแบบหน้าโฮมเพจนั้นนอกจากจะเน้นหน้าตำที่น่าสนใจแล้ว การแสดงผลที่รวดเร็วก็จะทำให้เว็บไซต์ไม่น่าเบื่อ ดังนั้นการใช้ภาพหรือกราฟิกประกอบจึงควรคำนึงถึงเรื่องระยะเวลาในการแสดงผลเว็บไซต์ด้วย เนื่องจากยิ่งมีภาพประกอบมากเวลาในการแสดงผลก็จะยิ่งมากด้วยไปด้วย

นอกจากหัวข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วลักษณะของตัวอักษรที่ใช้ประกอบก็เป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้โฮมเพจของเราดูทันสมัย น่าเชื่อถือหรือสนุกสนานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวหนังสือแต่ละลักษณะนั้นจะให้ความรู้สึกแตกต่างกันไป

ตัวหนังสือแบบ Serif (มีเชิง)

ให้ความรู้สึกของความคลาสสิค ดูเก่าแก่ และค่อนข้างเป็นทางการ

ตัวหนังสือแบบ San Serif (ไม่มีเชิง)

ให้ความรู้สึกเรียบง่าย มีความทันสมัยและนอกจากนี้แล้วยังช่วยให้อ่านง่ายอีกด้วย

Script (ตัวอักษรแบบลายมือ)

ให้ความรู้สึกสนุกสนานเป็นกันเองและดูไม่เป็นทางการ มักใช้กับคำโฆษณาสั้น ๆ

ตัวอักษรแบบมีหัว

มักใช้กับบทความยาว ๆ เพราะช่วยให้อ่านง่าย เช่น หนังสือเรียน แต่ในขณะเดียวกันก็ดูโบราณ

ตัวอักษรแบบไม่มีหัว

ตัวหนังสือแบบนี้ค่อนข้างที่จะอ่านยาก มักใช้กับข้อความสั้น ๆ แต่ก็ให้ความรู้สึกที่ทันสมัย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงพื้นฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจวิธีการง่าย ๆ ในการออกแบบเพื่อที่จะนำไปใช้กับโฮมเพจของคุณ โดยการศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ การ

ดูตัวอย่างโฮมเพจอื่น ๆ และการฝึกฝนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นจึงนามาประยุกต์ใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบโฮมเพจได้อย่างสร้างสรรค์และสวยงามมากขึ้นนั่นเอง

ขั้นตอนสำคัญในการสร้างโฮมเพจ

ในการสร้างโฮมเพจนั้นมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนพอสมควรแต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางง่าย ๆ ที่จะทำให้เราสามารถสร้างโฮมเพจได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีความเข้าใจในการสร้างโฮมเพจมากขึ้นดังวิธีการต่อไปนี้

1.ขอพื้นที่โฮมเพจจาก Web Hosting

ในการขอพื้นที่โฮมเพจเราจะต้องเลือก Web Hosting เสียก่อน โดยการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียต่าง ๆ รวมถึงขนาดของพื้นที่ให้บริการด้วย จากนั้นจึงลงทะเบียนขอพื้นที่โฮมเพจ (ผู้อ่านควรคิดลักษณะและชื่อโฮมเพจที่ต้องการสร้างไว้ในใจเสียก่อนเพื่อให้ลักษณะของโฮมเพจและชื่อที่ตั้งสัมพันธ์กัน)

2.กำหนดลักษณะของโฮมเพจ

เมื่อเราขอพื้นที่โฮมเพจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การกำหนดลักษณะโฮมเพจของเรา โดยในตอนนี้เราต้องคิดและตัดสินใจว่าเราจะสร้างโฮมเพจเกี่ยวกับอะไรดี มีลักษณะโทนสีอะไร และใครจะเข้ามาเยี่ยมชมในโฮมเพจของเราบ้าง เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

3.ออกแบบหน้าโฮมเพจด้วย Photoshop

ในขั้นตอนนี้เราจะต้องมีภาพของหน้าโฮมเพจลาง ๆ ไว้ในใจแล้วว่าจะมีลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จากนั้นเราจึงมาเริ่มต้นออกแบบและสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน้าโฮมเพจ ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนต่อไป

4.สร้างโฮมเพจให้สมบูรณ์ด้วย Dreamweaver 8.0

เมื่อเราได้ออกแบบส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าโฮมเพจด้วยโปรแกรม Photoshop เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราจะเข้าสู่การสร้างโฮมเพจด้วยโปรแกรม Dreamweaver 8.0 เพื่อให้ได้โฮมเพจที่สมบูรณ์ซึ่งเราก็จะได้เรียนรู้ในตอนต่อไปเช่นกัน

5.อัพโหลดโฮมเพจขึ้นอินเตอร์เน็ต

เมื่อเราสร้างโฮมเพจเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการอัพโหลดโฮมเพจเข้าสู่ Web Hosting ที่เราได้ขอพื้นที่โฮมเพจไว้เรียบร้อยแล้วด้วยโปรแกรม Cute_FTP หรือโปรแกรมที่ทาง เว็บไซต์มีให้บริการขึ้นโหลดข้อมูล เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถสร้างโฮมเพจได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว

การสร้างและออกแบบเว็บ

กระบวนการในการสร้างและออกแบบเว็บจะมีกระบวนการพื้นฐานอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอนคือ

1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนที่ผู้สร้างเว็บจะต้องรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจะนำ

มาสร้างเว็บ กำหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นกำหนดขอบเขตและความต้องการของเว็บว่าจะต้องมีอะไรบ้าง เช่น ขนาดของหน้าจอภาพ บราวเซอร์ที่จะใช้ ฯลฯ องค์ประกอบและเครื่องมือที่จะต้องใช้ ต้องการมีกระดานข่าว ห้องสนทนา ฯลฯ รวมถึงขั้นตอนและกระบวนการในการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ

การวางแผนเบื้องต้นของการสร้างเว็บสำหรับ Dreamweaver คือ

- กำหนดพื้นที่จัดเก็บเว็บในเครื่องคอมพิวเตอร์

- กำหนดพื้นที่ติดตั้งเว็บเมื่อสร้างเสร็จ

2. การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลและแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ โดยการลง

มือปฏิบัติโดยจัดพิมพ์เนื้อหา กำหนดการเชื่อมโยง และคุณลักษณะอื่นที่ต้องใช้ในเว็บ การออกแบบก็จะเน้นที่การจัดหน้าจอของเว็บให้สอดคล้องกันและระมัดระวังปัญหาต่าง ๆ ในการออกแบบ

3. การพัฒนา (Development) เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการออกแบบและการสร้าง โดย

เน้นไปที่การตกแต่งและเสริมเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับเว็บ เช่น การกำหนดสี ภาพ การใช้ Flash ช่วยให้เว็บเร้าความสนใจ และเพิ่มเติมเทคนิคต่าง ๆ ของโปรแกรมสนับสนุนการสร้างเว็บ

4. การติดตั้ง (Publishing) เป็นขั้นตอนที่จะนำเอาเว็บที่ได้สร้างขึ้นเข้าไปติดตั้งในเว็บ

เซอร์เวอร์เพื่อให้แสดงผลได้ในระบบอินเทอร์เน็ต หรือจะเรียกว่า การอับโหลด (Up load) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะต้องดาเนินการอยู่เสมอเมื่อสร้างเว็บเสร็จ

5. การบำรุงรักษา (Maintenance) เป็นขั้นตอนประเมินผลและติดตามผลการติดตั้งเว็บไซต์

ว่ามีข้อขัดข้องหรือต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเว็บเพิ่มเติมให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาจจะเรียกได้ว่าขั้นตอนการอับเดท (Up date)

การกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ (Web-site)

เว็บไซต์ (Web-site) หมายถึง เว็บที่ประกอบด้วยเว็บเพจหลาย ๆ เว็บเพจมารวมกัน อยู่ภายในพื้นที่เดียวกันและเชื่อมโยงระหว่างกันภายใต้โดเมนเนมเดียวกัน โดยมีโฮมเพจเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจต่าง ๆ

โฮมเพจ (Homepage) หมายถึง เว็บเพจที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ ที่เข้าถึงได้ทันทีเมื่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์โดเมนเนมหรือยูอาร์แอลซึ่งเป็นที่ติดตั้งของเว็บไซต์

เว็บเพจ (Web page) หมายถึง เอกสารที่สร้างขึ้นโดยในรูปแบบของ HTML หรือโปรแกรมการสร้างเว็บโดยเฉพาะ จะแสดงผลได้เฉพาะโปรแกรมบราวเซอร์ และต้องติดตั้งในเว็บเซอร์เวอร์เพื่อเข้าไปอ่านข้อมูลได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เว็บเพจจะมี 2 ลักษณะใหญ่คือ

- เว็บเพจแบบหน้าเดียว (Single page) หรือแบบสั้น (Short page) หมายถึง เว็บเพจที่แสดงผลข้อมูลหรือเนื้อหาเพียงหน้าเดียวมีขนาดเท่ากับหน้าจอคอมพิวเตอร์พอดี หรือมีแถบเลื่อนลงมาด้านล่างสั้น ๆ หรือมีรูปแบบเป็นกรอบพอดีหน้าจอภาพ

- เว็บเพจแบบแถบเลื่อน (Scroll page) หรือแบบยาว (Long page) หมายถึง เว็บเพจที่แสดงผลข้อมูลหรือเนื้อหาเป็นแนวยาวจากด้านบนลงมายังด้านล่างของหน้าจอภาพ โดยมีแถบเลื่อนอยู่ด้านข้างสำหรับเลื่อนหน้าจอภาพ เพื่อดูข้อมูลที่แสดงผลหน้าจอภาพ

การออกแบบโครงสร้างเว็บ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการสร้างเว็บเพื่อการศึกษาคือ โครงสร้างหลักของเว็บ เนื่องจากการจัดการข้อมูลเพื่อการเรียนการสอนมีความแตกต่างกัน กลุ่มผู้เรียนที่แตกต่างและเนื้อหาของเว็บแตกต่างกัน โครงสร้างของเว็บก็จะมีผลต่อการเรียนการสอนเช่นกัน (McCormack and Jones, 1998)

โครงสร้างของเว็บโดยพื้นฐานจะมี 2 ลักษณะคือ

1. โครงสร้างเว็บแบบตื้น เป็นโครงสร้างเว็บในลักษณะที่มีการเชื่อมโยงจากหน้าแรกหรือหน้าที่หลักไปยังเนื้อหาโดยตรง โดยไม่มีเว็บเพจที่เป็นเนื้อหาเชื่อมโยงต่อไปอีกมากนัก สามารถกลับมายังหน้าแรกหรือหน้าหลักของของเว็บไซต์ได้ในทันที อาจจะมีการเชื่อมโยงของเนื้อหาต่อไปอีกบ้างแต่ไม่ต่อเนื่องเป็นลาดับลึกลงไปเหมือนกับโครงสร้างของเว็บแบบลึก โครงสร้างลักษณะนี้จึงเป็นโครงสร้างที่มีเนื้อหาแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ หรือมีเนื้อหาเฉพาะเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ไม่ต้องเชื่อมโยงเว็บเพจต่อไปเรื่อย ๆ เว็บแบบตื้นอาจจะมีเนื้อหามากก็ได้ แต่ไม่เชื่อมโยงลึกลงไปอีก การออกแบบเว็บเพจอาจเป็นแบบหน้าเดียวสั้น ๆ หรือแบบแถบเลื่อนยาวลงไปมากก็ได้ เนื้อหาจบในหน้านั้นและไม่เชื่อมโยงไปอีก

                            2. โครงสร้างเว็บแบบลึก เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปในเนื้อหาเดียวกันโดยตลอดหลาย ๆ เว็บ เนื่องจากมีเนื้อหามากและเป็นลาดับต่อเนื่อง ทำให้โครงสร้างของเว็บต้องลงลึกไปเรื่อย ๆ สำหรับการเลื่อนแถบเลื่อนด้านขวาของหน้าจอไม่ได้หมายความว่า โครงสร้างเว็บนั้นจะเป็นแบบลึก เพราะการเลื่อนแถบเลื่อนด้านข้างขวาของจอภาพเป็นการออกแบบหน้าจอเว็บ ไม่ใช่โครงสร้างภาพ รวมของเว็บ การเลื่อนแถบเลื่อนด้านขวาของหน้าจอภาพเป็นการออกแบบเว็บแบบแถบเลื่อน เรียกได้ว่า การออกแบบหน้าจอภาพแบบแถบเลื่อน เป็นแผ่นเดียวยาวจากด้านบนลงมาด้านล่าง แต่การออก แบบโครงสร้างเว็บแบบลึก เป็นการออกแบบที่มีเว็บเพจหลาย ๆ เว็บเพจต่อเนื่องจากเป็นจำนวนมาก

องค์ประกอบที่ควรมีในเว็บเพจ

องค์ประกอบทั่วไป

1. ชื่อของเว็บเพจ (Title) 2. ประวัติและรูปภาพผู้จัดทำ (Profile/Picture)

3. การเชื่อมโยงภายในและภายนอกเว็บ (Links) 4. การแสดงที่อยู่ของเว็บ : URL

5. วัน/เวลาที่สร้างเว็บ (Date/Time) 6. การปรับปรุงครั้งล่าสุด (Update)

7. ผู้จัดทำเว็บ : (created by) 8. การสงวนลิขสิทธิ์ (Copy right)

9. การติดต่อผู้จัดทำเว็บ (contract /e-mail) 10. สถานที่ติดต่อของเว็บ (Address)

11. บราวเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับการชม (Browser )12. ขนาดหน้าจอที่เหมาะสมในการชม

13. คำถามที่ถูกถามบ่อย FAQ (Frequency Asked Question) 14. ความช่วยเหลือ (Help)

องค์ประกอบพิเศษ

1. สมุดเยี่ยม (Guest book)                               2. ฝากข้อความ (Web board)

3. กระดานข่าว (Bulletin Board)                    4. กระทู้

5. แบบสำรวจ (Web poll)                                6. จำนวนผู้เข้าชม (Counter)

7. ห้องสนทนา (Chat Room)                          8. สถิติทุกประเภท (Web state)

9. เทคนิคพิเศษด้วยโปรแกรมสคริปต์ (Java script, VBscript , cgi,asp,php)

10. โปรแกรมพิเศษสนับสนุน (Download)                 11. สไลด์สรุปบรรยาย (Presentation)

 

 

องค์ประกอบเฉพาะสำหรับ E-learning

1. คำอธิบายรายวิชา                                           2. วัตถุประสงค์รายวิชา

3. คุณสมบัติของกลุ่มผู้เรียน                             4. การลงทะเบียน

5. ตำรางเรียน                                                      6. ผู้บริหารหลักสูตร

7. กิจกรรม                                                           8. ข่าวสาร/ประกาศ

9. ตำรางสอน/ตำราเรียน                                   10. ปฏิทินการศึกษา

11. แผนภูมิแสดงโครงสร้างรายวิชา              12. สารบัญเนื้อหา

13. เนื้อหารายละเอียด                                       14. แบบทดสอบก่อนเรียน

15. แบบฝึกหัดระหว่างเรียน                            16. สรุปสาระสำคัญ

17. ข้อสอบท้ายการเรียน                                   18. โครงสร้างหลักสูตร

19. บรรณานุกรม/รายการอ้างอิง                     20. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ชั้นม.3/2

ชั้นม. 2/2

งานชิ้นที่ 1 ล่องสะเปาชาวบ้านฟ่อนขนาด 1000*300 พิกเซล

งานชิ้นที่ 2 ออกแบบปก วิชาphotoshop ขนาดกระดาษ A4

งานชิ้นที่ 3 ออกแบบประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ของโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา ขนาด 800*600 พิกเซล

งานชิ้นที่ 4 ให้นักเรียนถ่ายรูปร่วมกับสถานที่เที่ยวในครั้งนี้ 1 ที่ แล้วนำมาตกแต่งให้สวยงามพร้อมบรรยายใต้ภาพถึงความประทับใจในสถานที่นั้นความยาวประมาณ 10 บรรทัด ขนาดกระดาษ A4

งานชิ้่นที่ 5 ออกแบบการ์ดวันพ่อ

งานชิ้นที่ 6 ออกแบบประวัติส่วนตัว

งานชิ้นที่ 7 ออกแบบ ส.ค.ส 57

งานชิ้นที่ 8 กระทง

ชั้นม.1/2

             ศึกษาโครงสร้างข้อมูล  ชนิดข้อมูล  ฐานข้อมูล  การจัดการฐานข้อมูล  โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล  การออกแบบ  สร้าง  ป้อน  ลบ  แก้ไข  ค้นหา  ข้อมูล  การจัดเรียง  การแบ่งกลุ่มข้อมูล  การจัดทำรายงาน  ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล    ปฏิบัติการสร้างแฟ้มข้อมูล  ป้อนข้อมูล  แก้ไขข้อมูล  ลบ  ค้นหา  จัดเรียง  การแบ่งกลุ่ม  ทำรายงาน  คำนวณจัดการฐานข้อมูล  ประยุกต์ฐานข้อมูลในงานด้านต่าง ๆเพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะในการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลเบื้องต้นและใช้โปรแกรมฐานข้อมูลได้

ชั้นม. 3/1

ข้อสอบ พรบ.คอมพิวเตอร์ 20 ข้อ





พรบ คอมพิวเตอร์ 20 ข้อ

1.มาตราที่ 14 ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางทาไม่เกินกี่ปี
ก. 18 ปี ข. 10 ปี
ค. 15 ปี ง. 7 ปี
*************************************************************************************

2. พรบคอมพิวเตอร์หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องอะไร
ก. ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ ข.ความผิดเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
ค. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ง.ความผิดเกี่ยวกับกฎหมาย
**************************************************************************************

3.พรบ คอมพิวเตอร์มีกี่หมวด
ก. 1 หมวด
ข. 2 หมวดค. 3 หมวด ง. 4 หมวด
*************************************************************************************
4. พรบคอมพิวเตอร์หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องอะไร
ก. ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ
ข.ความผิดเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ค. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ง.ความผิดเกี่ยวกับกฎหมาย
*************************************************************************************

5. มาตราที่ 8 มีฐานความผิด คือ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์แล้วมีโทษจำคุกกี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 5 ปี
*************************************************************************************

6. มาตราที่ 15 มีฐานความผิด คือการตัดต่อภาพผู้อื่น มีโทษจำคุก 3ปี ปรับไม่เกิน เท่าไร
ก. 2 แสนบาท ข. 4 แสนบาท
ค. 5 แสนบาท ง. 6 แสนบาท*************************************************************************************

7. พรบคอมพิวเตอร์มีทั้งหมดกี่มาตรา
ก. 10 มาตรา ข. 20 มาตรา
ค. 30 มาตรา ง. 40 มาตรา
*************************************************************************************

8. ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ก. ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ข. ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์
ค. ถูกทั้งข้อก และข้อ ข
ง. ไม่มีข้อถูก

*************************************************************************************

9. ผู้ให้บริการหมายความว่าอย่างไร
ก. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
ข. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์
ค. ถูกเฉพาะข้อ ข
ง. ถูกทุกข้อ*************************************************************************************

10. สรุปฐานความผิดและโทษทั้งหมดที่มีความรุนแรง มีทั้งหมดกี่มาตรา
ก. 6 มาตรา ข. 8 มาตรา
ค. 10 มาตรา
ง. 11 มาตรา
*************************************************************************************

11. มาตราที่ 12 มีความผิดว่าด้วยการจำหน่าย/เผยแผ่ชุดคำสั่ง โทษจำคุกสูงสุดกี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 4 ปี
**************************************************************************************

12. มาตราที่ 6 ฐานความผิดว่าด้วยล่งรู้มาตรการป้องกัน มีโทษจำคุกทั้งหมดกี่เดือน
ก. 3 เดือน ข. 6 เดือนค. 7 เดือน ง. 8 เดือน
*************************************************************************************
13. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือใคร
ก. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ข. ทักษิณ ชินวัตร
ค. นาย บรรหาร ศิลปะอาชา ง.ตำรวจแห่งชาติ

*************************************************************************************
14.มาตราที่ 10 มีความผิดฐานการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ โทษจำคุกไม่เกินกี่ปี
ก. 3 ปี ข. 4 ปี
ค. 5 ปี ง.6 ปี
**************************************************************************************
15. มาตราที่ 13 มีความผิดฐานการเผยแผ่ข้อมูลอันไม่เหมาะสม มีโทษไม่เกินกี่ปี
ก.1-4 ปี ข.1-5 ปี
ค. 2-4 ปี ง. 2-5 ปี*************************************************************************************
16.โทษในมาตราที่เท่าไรที่มีความรุนแรงจนต้องประหารชีวิต
ก.มาตราที่11 ข. มาตราที่ 8
ค. มาตราที่ 13 ง. มาตราที่ 12
*************************************************************************************
17. มาตราไหนที่มีการต้องโทษมากที่สุด
ก.มาตราที่11 ข. มาตราที่ 8
ค. มาตราที่ 13 ง. มาตราที่ 12
*************************************************************************************
18. มาตราที่18 อยู่ภายใต้มาตราบังคับที่เท่าไร
ก.มาตราที่11 ข. มาตราที่ 19ค. มาตราที่ 13 ง. มาตราที่ 12
*************************************************************************************
19. มาตราที่ ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
ก. 10 วัน ข. 20 วัน
ค.30 วัน ง. 27 วัน
*************************************************************************************
20. พรบ คอมพิวเตอร์ 2550 ให้ไว้ ณ วันที่เท่าไหร่ ของเดือนมิถุนายน 2550
ก. 8 มิถุนายน 2550 ข. 10 มิถุนายน 2550ค. 12 มิถุนายน 2550 ง.19 มิถุนายน 2550



 

ชั้นม. 3/3

ชั้นม. 1/1


1. การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญอย่างไร

  เป็นความรู้พื้นฐาน

 ไม่ต้องหาข้อมูลหลายที่

  นำความรู้มาประยุกต์ใช้งาน

  ข้อ ก และ ค ถูก

 

2. ข้อใดกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศได้ ถูกต้อง

  ข้อมูลเป็นสารสนเทศ

 เป็นความรู้ที่ได้จากการทดลอง

  เป็นการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

  เครื่องมือที่ใช้รวบรวม ประมวลผล เก็บรักษาและเผยแพร่

 

3. ข้อใดเป็นสารสนเทศ

  เกรดเฉลี่ย

 เสียงนกชนิดต่าง ๆ 

  คะแนนสอบของนักเรียน

  ส่วนสูงและน้ำหนักของนักเรียน

 

4. การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเรียกว่าอย่างไร

  การแสดงผล

 การประมวลผล

  การสื่อสารและเครือข่าย

  การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล

 

5. ชุดคำสั่งในการทำงานข้อใดต่างจากพวก

  การคิดเกรดเฉลี่ย

 การออกแบบกรอบภาพ

  การทำบันทึกรายรับรายจ่าย
  การคำนวณน้ำหนักและส่วนสูง


6. อุปกรณ์ใดเหมาะที่จะใช้แสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร

  ลำโพง

 จอภาพ

  เครื่องพิมพ์

  ถูกทุกข้อ

 

7. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารมีหลายกิจกรรม ยกเว้น ข้อใด

ก การเรียนผ่านดาวเทียม

ข การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

ค การเล่นเกมคอมพิวเตอร์

การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

 

8. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญต่อระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์อย่างไร

  ใช้สื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล

 เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องทำงาน

  ช่วยประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ

  เป็นคำแนะนำการใช้โปรแกรมฮาร์ดแวร์

 

9. การประมวลผลข้อมูลให้ได้สารสนเทศ เกิดประโยชน์อย่างไร

  ได้ข้อมูลใหม่

 ใช้ในการตัดสินใจ

  ข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลง

 ฝึกทักษะการทำงานให้กับบุคลากร

 

10. ข้อใด ไม่ใช่ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้จัดทำ

    สารสนเทศ

  เมาส์ จอภาพ

 แป้นพิมพ์ เครื่องพิมพ์

  สแกนเนอร์ แป้นพิมพ์
  กล้องดิจิทัล เครื่องถ่ายเอกสาร


11. บุคลากรของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อย่างไร

  เป็นผู้ใช้งาน

 จัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

  เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ

  ถูกทุกข้อ

12. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของนักเรียน คือข้อใด

  การใช้ e-learning

 การชำระภาษีออนไลน์

  การทำธุกิจอิเล็กทรอนิกส์

  การค้นหาตำแหน่งของเรือรบหลวง

13. ข้อใดเป็นการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

  การส่งธนาณัติ

 การติดป้ายโฆษณา

  การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต

  การเชิญชวนคนมาสมัครเป็นสมาชิก

 

14. ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ                                

  เล่นเกมพร้อมกันได้หลายคน

 ตัดต่อภาพเผยแพร่ทางเว็บไซต์

  ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
  นำเสนอผลงานด้วยโปรแกรม  Microsoft Power Point



15. หนังสือดิจิทัลมีประโยชน์อย่างไร

  เปิดใช้ง่ายกว่าหนังสือปกติ

 ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ง่าย

  ทันสมัยและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร

  เก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนมาก

ชั้นม. 2/1




เว็บดาวโหลด font   http://www.f0nt.com/release/


ตัวอย่างออกแบบหน้าปก คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมม.2

ตัวอย่างออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์









งานชิ้นที่ 1 ล่องสะเปาชาวบ้านฟ่อนขนาด 1000*300 พิกเซล

งานชิ้นที่ 2 ออกแบบปก วิชาphotoshop ขนาดกระดาษ A4

งานชิ้นที่ 3 ออกแบบประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ของโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา ขนาด 800*600 พิกเซล

งานชิ้นที่ 4 ให้นักเรียนถ่ายรูปร่วมกับสถานที่เที่ยวในครั้งนี้ 1 ที่ แล้วนำมาตกแต่งให้สวยงามพร้อมบรรยายใต้ภาพถึงความประทับใจในสถานที่นั้นความยาวประมาณ 10 บรรทัด ขนาดกระดาษ A4